วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

  ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ (Landscape)

      เมื่อคุณไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทุกคนมักจะนิยมถ่ายภาพสถานที่ต่างๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึก การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์จะเน้นความคมชัดของวิวทิวทัศน์ทั่วทั้งภาพ จึงนิยมการถ่ายภาพโดยใช้เทคนิคชัดลึกเพื่อให้มีความชัดทั่วทั้งภาพไม่ว่า วัตถุในภาพจะอยู่ใกล้หรือไกล โดยโหมดที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพวิวทิว- ทัศน์ ได้แก่ โหมดควบคุมรูรับแสงหรือ A Modeเพื่อควบคุมความชัดลึก 

            สำหรับกล้องดิจิตอลการถ่ายให้มีความชัดทั่วทั้งภาพนั้นง่ายมาก เพียงแค่ปรับรูรับแสงแคบลงประ- มาณ F 7.0 ขึ้นไป(ยิ่งตัวเลขมากยิ่งรูรับแสงแคบ) ภาพก็มีความคมชัดทั่วทั้งภาพแล้ว แต่คุณควรระวังความ เร็วชัดเตอร์ที่อาจต่ำเกินไปจนไม่สามารถถือกล้องถ่ายได้ เพราะว่ายิ่งรูรับแสงแคบมากเท่าใด ความเร็วซัดเตอร์ก็จะต่ำลงมากเท่านั้น ทางที่ดีควรมีขาตั้งกล้องเพื่อช่วยในการถ่ายภาพได้หลายแบบมากขึ้น
         
            ภาพวิวทิวทัศน์ที่นิยมถ่าย เช่น ภาพพระอาทิตย์ตก ภาพทะเล ซึ่งอาจต้องใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องหรือ ISO (ความเร็วในการรับแสงของกล้อง)ที่สูง เพราะสามารถชดเชยแสงตามต้องการส่วนใหญ่นิยมชดเชยแสงให้ลดลง (-) เล็กน้อย เพื่อให้ได้ภาพที่มีลีสันเข้มข้น นอกจากนี้ความพิเศษของกล้องดิจิตอลคือ คุณสามารถปรับแต่งสีที่แปลกตาด้วยการใช้ระบบ White Balance(เป็นระบบการปรับความสมดุลของสภาพแสง) ที่แปลกไปจากปกติโดยไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์สีเข้าช่วย เช่น เมื่อคุณถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก ภาพทะเล คุณลองปรับระบบ White Balance ไปที่ Tungsten สภาพแสงหลอดไฟขนาดใหญ่ หรือ Fluorescent สภาพแสงหลอดไฟนีออน คุณจะได้ภาพโทนสีแปลกตาสวยงามไปอีกแบบ





ถ่ายภาพแสงไฟกลางคืน (Night Light & Firework)


            ในเวลากลางคืนเราก็สามารถถ่ายภาพได้เช่นกัน ซึ่งการถ่ายภาพแสงไฟในเวลากลางคืนก็ให้ความรู้สึกที่แปลกใหม่สนุกสนานได้อีกรูปแบบหนึ่ง การถ่ายภาพแสงไฟกลางคืนนั้นจำเป็นต้องมีขาตั้งกล้องขาดเสียไม่ได้เลย เพราะในยามที่มีแสงน้อยอย่างในเวลากลางคืนนั้นมีแสงสว่างน้อยมาก ทำให้ความเร็วซัดเตอร์ที่ได้นั้นต่ำมากไม่สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายภาพได้ เพราะจะทำให้กล้องสั่นไหว จึงต้องพึ่งพาขาตั้งกล้อง
             
             
              การใช้โหมดการถ่ายภาพนั้น ไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องใช้โหมดใดขึ้นอยู่กับความถนัด เพราะมีข้อดีคนละแบบที่นิยมใช้กันก็คือ โหมดปรับตั้งเองทั้งหมด M Mode สาเหตุที่ใช้โหมดนี้เนื่องจากในเวลากลางคืน แสงไฟมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สภาพแสงไม่อยู่นิ่ง คุณสามารถทดลองถ่ายภาพออกมาดูก่อนว่าแสงพอดีหรือยัง เมื่อทดลองถ่ายโดยตั้งค่ารูรับแสงและความเร็วซัดเตอร์ที่พอเหมาะก็จำค่านั้นไว้ แล้วจึงใช้ค่าที่ได้อ้างอิงปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมซึ่งจะต้องหมั่นทดลองบ่อย ๆ



เทคนิคการระบายสีชอล์ก

  สี ชอล์กเทียนหรือสีชอล์กน้ำมัน (Oil Pastel) เป็นสีที่นิยมใช้กันมากในหมู่ของเด็กนักเรียนระดับอนุบาลหรือระดับประถม ศึกษา เหมาะสำหรับการเขียนภาพระบายสีที่ไม่ต้องการความละเอียดเหมือนจริงมากนัก เช่น การเขียนภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง
   
กา ระบายสีชอล์กเทียน นิยมระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ซึ่งเป็นการระบายสีที่ให้ความสำคัญของภาพจาก ส่วนที่ได้รับแสงหรือส่วนที่มีค่าน้ำหนักแสงเงาอ่อนๆ ก่อนส่วนที่มีน้ำหนักเข้มโดยค่อยๆเพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นโดยใช้สีเข้มระบาย ทับตามลำดับ
   
วัดุอุณ์  

1. สีชอล์กเทียน มีหลายยี่ห้อหาเลือกซื้อได้ตามความต้องการ  
2. กระดาษวาดเขียน ควรใช้กระดาษเนื้อค่อนข้างหนา ผิวเรียบด้านนักเรียนนิยมใช้กระดาษ 100 ปอนด์  
3. ดินสอ สำหรับการร่างภาพ ควรใช้ดินสอไส้เกรด HB ก็พอ และดินสอ EE ซึ่งนักเรียนระดับอนุบาลหรือประถมนิยมนำมาใช้ในการตัดเส้นเก็บรายละเอียด ในขั้นตอนสุดท้าย  
4. กระดาษชำระ หรือผ้าสะอาด สำหรับปัด เช็ดฝุ่นสีหรือรอยเปื้อน  
5. โต๊ะ หรือแผ่นกระดานรองเขียน ให้ความสะดวกในการวาดภาพนอกสถานที่  
   
  สี ชอล์ค เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อ ละเอียดกว่า แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน

 การสร้างงานด้วยสีชอล์คน้ำมัน มักจะมีการระบายทับซ้อน ประมาณ 2 - 3 ชั้น เพื่อให้เกิดการผสมผสานสีใหม่ หรือการไล่โทนสีอย่างกลมกลืน

นิสีล์

1. การระบายสีชอล์ค ควรใช้กระดาษผิวหยาบเพื่อให้พื้นผิวยที่ขรุขระสามารถรองรับเนื้อสีไว้ได้ เช่น กระดาษร้อยปอน เป็นต้น

2. การระบายสีชั้นแรกควรใช้สีเข้มก่อนเพราะสีชอล์คน้ำมันเป็นสีที่ทึบแสง และควรระบายสีให้กลมกลืนกันไว้ เพราะต้องเผื่อความลึกของพื้นผิวไว้ให้สีชั้นบนด้วย จากนั้นแล้วการระบายสีชั้นต่อๆไปจึงเป็นสีอ่อนขึ้นตามลำดับ

3. ช่วงต่อตะเข็บระหว่างสี ควรระบายให้บางกว่าในส่วนที่ถัอออกไปจะได้ช่วยในการผสมผสานกลมกลืนเป็นไปได้ง่าย

4. ควรวาดภาพวัตถุที่มีขนาดใหญ่หรือปานกลาง เพราะสีชอล์กไม่เหมาะกับภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก เวลาระบายจะดูไม่สวย

5. เวลาระบายสีชอล์กลงไป จะมีเศษสีติดอยู่บนกระดาษควรใช้กระดาษทิชชูปัดออกเบาๆก่อน แล้วค่อยระบายอีกครั้ง

6. ถ้าหากอยากเอาภาพที่วาดเสร็จแล้วไปใส่กรอบไม่ควรตีเส้นขั้นขอบเพราะจะดูไม่สวย

7. เมื่อระบายสีชอล์กเสร็จในแต่ละครั้งควรนำกระดาษทิชชูมาเช็ดสีที่ติดอยู่เพราะถ้าไม่เช็ดแล้วระบายซ้ำอีก สีบนภาพจะดูหมอง

8. ควรใช้สีให้ถูกต้องเพราะถ้าระบายผิดจะแก้ไขได้ยากแล้วยิ่งระบายสีทับไปอีกก็จะยิ่งเละ
เทคนิคการระบายสีน้ำ

การสร้างสรรค์ภาพวาดจากสีน้ำ ควร เข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติ และความเป็นไปของมัน การฝึกฝนจะทำให้รู้จังหวะและควบคุมได้ เทคนิคพื้นฐานการระบายสีน้ำ 5 ประการนี้ จะทำให้ผู้เริ่มต้นรู้จักสีน้ำอย่างถ่องแท้และสามารถนำไปสร้างสรรค์ภาพวาด จากสีน้ำที่สมบูรณ์ ได้อย่างแน่นอน
1. การระบายแบบเปียกบนเปียก      คือสีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา  ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเล ได้ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ
2. การระบายแบบเปียกบนแห้ง 
     เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้ 
2.1 ระบายเรียบสีเดียว โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสี
      ไหลลงไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำ
      ที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี
      ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้

2.2 ระบายเรียบหลายสี ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่
      ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง
      หมายเหตุ ทั้งการ ระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย
      ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบ
      หลายสี
2.3 ระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่
      ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้
      ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบน้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจากอ่อน
      ไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อ
      ใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้
      เกิด มิติ แสงเงา
3. การระบายแบบแห้งบนแห้ง
     เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้น อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY
4. การระบายเคลือบ      เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น  สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ  
5. การระบายขอบคมชัดและเรือนราง 
     การระบายสีขอบคมชัด เป็น การระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะ ลงไป เพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา การระบายสีขอบเรือนราง คือ การเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา ทำให้ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้